แบบจำลองฐานข้อมูล
วันจันทร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2554
แบบจำลองฐานข้อมูล
แบบจำลองฐานข้อมูล
แบบจำลองฐานข้อมูลในปัจจุบันมีอยู่ 4 รูปแบบได้แก่
แบบจำลองฐานข้อมูลแบบลำดับชั้น
(Hierarchical database Model), แบบจำลองฐานข้อมูลแบบเครือข่าย (Network database Model), แบบจำลองฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ (Relational database Model), แบบจำลองฐานข้อมูลเชิงวัตถุ (Object-Oriented database Model)
แบบจำลองฐานข้อมูลแบบลำดับชั้น
(Hierarchical database Model)
ลักษณะโครงสร้างของฐานข้อมมูลแบบลำดับขั้นนี้ จะมีลักษณะคล้ายต้นไม้ที่คว่ำหัวลงซึ่งอาจเรียกโครงสร้างฐานข้อมูลแบบนี้ได้อีกแบบว่า
โครงสร้างแบบต้นไม้ (Tree Structure)
รูปแบบโครงสร้างของแบบจำลองประเภทนี้คือ มีระเบียนที่อยู่แถวบนซึ่งเรียกว่า ระเบียนพ่อแม่ (parent record) ส่วนระเบียนในแถวถัดลงมาเรียกว่า ระเบียนลูก (child record) โดยระเบียนพ่อแม่จะสามารถมีระเบียนลูกได้มากว่าหนึ่งระเบียน แต่ระเบียนลูกแต่ละระเบียนสามารถมีระเบียนพ่อแม่เพียงหนึ่งระเบียนเท่านั้น
รูป แสดงโครงสร้างฐานข้อมูลแบบลำดับชั้น
รูป ตัวอย่างแบบจำลองฐานข้อมูลแบบลำดับชั้น
จากตัวอย่างข้างต้น
ลูกค้าแต่ละคนจะได้รับบริการจากพนักงานขายเพียงคนเดียวเท่านั้นตามโครงสร้างแบบฐานข้อมูลแบบลำดับชั้นแล้ว พนักงานขายจะถือว่าเป็นระเบียนพ่อแม่ของลูกค้า ส่วนสินค้าแต่ละชนิดก็จะถูกซื้อโดยลูกค้าเพียงคนเดียวเท่านั้น เนื่องจากสินค้าแต่ละชนิดจะเป็นระเบียนลูกของระเบียนลูกค้า เป็นต้น
ข้อมูลในฐานข้อมูลแบบลำดับชั้นนี้สามารถมีความสัมพันธ์ของข้อมูลเป็นแบบหนึ่งต่อหนึ่ง (1:1) หรือหนึ่งต่อกลุ่ม (1:M) แต่ไม่สามารถมีความสัมพันธ์แบบกลุ่มต่อกลุ่ม (M:N)
แบบจำลองฐานข้อมูลแบบเครือข่าย (Network database Model)
ข้อมูลในฐานข้อมูลแบบนี้สามารถมีความสัมพันธ์กันแบบใดก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นแบบหนึ่งต่อหนึ่ง หนึ่งต่อกลุ่มหรือกลุ่มต่อกลุ่ม
จากตัวอย่างข้างต้น จะเห็นได้ว่าความสัมพันธ์ระหว่างร้านค้ากับสินค้าเป็นแบบกลุ่มต่อกลุ่ม นั่นก็คือ ร้านค้าจำหน่ายสินค้ามากกว่าหนึ่งอย่าง และสินค้าแต่ละอย่างก็ถูกจำหน่ายจากร้านค้าหลายร้านค้า
แบบจำลองฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ (Relational database Model)
แบบจำลองข้อมูลเชิงสัมพันธ์ จะแสดงข้อมูลในรูปแบบของตาราง (table) ซึ่งภายในตารางจะประกอบด้วยแถว (row) และคอลัมน์ (column)
แบบจำลองข้อมูลเชิงสัมพันธ์เป็นแบบจำลองที่มีความนิยมใช้กันมากในปัจจุบัน ระบบจัดการฐานข้อมูล (RDBMS) ช่วยให้ผู้ออกแบบฐานข้อมูลหรือผู้ใช้งานสามารถใช้งานเพียงแค่ในระดับตรรกะเท่านั้น ส่วนรายละเอียดต่าง ๆ ในระดับกายภาพไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการจัดเก็บข้อมูล, เส้นทางการเข้าถึงข้อมูล หรือโครงสร้างข้อมูล จะมีระะบบจัดการฐานข้อมูลเป็นผู้ดูแลจัดการให้
แบบจำลองฐานข้อมูลเชิงวัตถุ (Object-Oriented database Model)
แบบจำลองข้อมูลเชิงวัตถุนี้เกิดจากแนวคิดของการโปรแกรมเชิงวัตถุ (Object Oriented Program :OOP) โดยจะมองของทุกสิ่งเป็นวัตถุ และในแต่ละวัตถุจะเป็นแหล่งรวมของข้อมูลและการปฏิบัติงาน ซึ่งจะมีคลาสเป็นตัวกำหนดคุณสมบัติหรือรายละเอียดของวัตถุรวมทั้งคุณสมบัติการปิดความลับของวัตถุ สำหรับการเข้าถึงข้อมูลนั้น ต้องมีการตอบรับจาก เมตธอด (method) ในวัตถุนั้นว่าจะอนุญาตในการส่งข้อความ (message) เพื่อการติดต่อหรือไม่
ที่มา
http://demo4.rc.ac.th/chap3_p2/chap3_p2_4.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
บทความใหม่กว่า
หน้าแรก
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น